วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

องุ่นเบื้องต้น

     องุ่น
          องุ่นเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Vitis และในวงศ์ Vitacea ซึ่งมีอยู่ประมาณ 11 สกุล และ 600 ชนิด สกุล Vitis เป็นสกุลเดียวที่เป็นผลไม้รับประทานได้ องุ่นเป็นไม้เลื้อยประเภทไม้ยืนต้น มือมือจับเพื่อเกาะยึด เป็นไม้ที่เกิดในแถบอากาศอบอุ่น แต่ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อนถึงอากาศร้อน
องุ่นในประเทศไทย
                    จากรายงานของกรมวิชาการเกษตร มีหลักฐานการนำเข้ามาปลูกเมื่อประมาณสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการขนส่งในรูปเมล็ดพันธุ์ทางเรือ และนำเข้าโดยขุนนางผู้ติดตาม อีกทางหนึ่งเข้ามาทางอินโดจีนโดยชาวฝรั่งเศส และเริ่มมีการปลูกองุ่นในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ยังไม่แพร่หลาย จนกระทั่งประมาณปี 2493 หลวงสมานวนกิจ ได้นำองุ่นจากแคลิฟอร์เนียมาปลูกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนการทั่งประมาณปี พ.ศ. 2512 ศาสตราจารย์ปวิณ ปุณศรี และคณะ ได้ริเริ่มศึกษาวิจัยการปลูกองุ่นในประเทศไทยขึ้น โดยได้นำองุ่นจากยุโรปหลายสายพันธุ์มาปลูกทดสอบที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มแรกที่คนไทยได้รู้จักกับองุ่นที่เป็นต้นแบบการปลูกองุ่นในประเทศ 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์คาร์ดินัน ( Cadinal ) และพันธุ์ไวท์มะละกา ( White Malaga ) ที่เป็นที่รู้จักขององุ่นรับประทานสดพันธุ์แรกๆ ที่ปลูกในประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการนำเอาองุ่นพันธุ์ใหม่ๆ จากต่างประเทศเข้ามาปลูกอีกมากมาย ทั้งพันธุ์ที่มีเมล็ด และไม่มีเมล็ด อีกทั้งเริ่มมีการนำองุ่นพันธุ์ที่ใช้ทำไวน์เข้ามาปลูกมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการปลูกองุ่นในทางการค้าได้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น และขยายพื้นที่ปลูกไปทั่งทุกภูมิภาคของประเทศไทย
ส่วนประกอบของต้นองุ่น
          ราก ( Root ) รากขององุ่นหยั่งลงสู่ดินเพื่อยึดลำต้นให้อยู่ได้อย่างมั่นคงทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารเพื่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ดังนั้น จะต้องปรับปรุงดินที่ปลูกให้อุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย มีความเหมาะสมกับองุ่นที่ปลูก เพื่อให้รากหาอาหารได้ง่าย รากขององุ่นบางพันธุ์ไม่แข็งแรง อ่อนเปราะ ไม่ทนทาน เกิดโรคใต้ดินได้ง่าย ดังนั้นผู้ปลูกองุ่นจะต้องคัดเลือกพันธุ์องุ่นที่มีรากแข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลงใต้ดินที่มารบกวน และต้องคอยหมั่นตรวจดูแลอยู่เสมอ ๆ
          ลำต้น ( Trunk ) : ลำต้นขององุ่น มีลักษณะเป็นเถาอยู่เหนือพื้นดินขึ้นไปถึงตอนที่แตกแยกออกเป็นกิ่งสาขา ทำหน้าที่ค้ำจุนพยุงกิ่งก้านสาขา ดอกและผล ลำต้นหรือเถานี้จะเลื้อยไปไกล แต่บางชนิดจะไม่เลื้อยไปไกล การปลูกองุ่นจะต้องใช้หลักปักให้องุ่นตั้งต้นตรง เมื่อปลูกได้ประมาณ 1 ปี เถาโตพอสมควร ให้ตัดเถาสูงประมาณ 1 - 2 เมตร ต่อจากปลายที่ตัดจะแตกกิ่งสาขาเจริญเติบโตต่อไป เมื่อมีอายุมากขึ้นลำต้นจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ปลูกองุ่นต้องบำรุงรักษาลำต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อให้เป็นทางเดินของอาหารจากรากไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ต่อไป
          กิ่งหลัก ( Arms or Cordon ) : เป็นกิ่งที่แตกออกมาจากลำต้นที่รักษาไว้อย่างถาวร อาจมีกิ่งเดียว สองกิ่ง หรือมากกว่านั้นก็ได้ ไว้สำหรับดัดวางแนวตามรูปแบบที่ต้องการเพื่อให้แตกกิ่งและให้ผลผลิตต่อไป
          สปอร์ ( Spur ) หรือเดือย เป็นกิ่งแขนงที่แตกออกมาจากกิ่งหลัก และเลี้ยงไว้จนเป็นกิ่งแก่ เรียกว่า เคน แล้วตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ผลผลิตต่อไป
          กิ่งอ่อน ( Shoot ) เป็นกิ่งอ่อนที่แตกออกมาจากตากิ่งบนเดือย เป็นกิ่งใหม่ที่ให้ผลผลิตและจะกลายเป็นเคนต่อไปเมื่อแก่
          เคน ( Cane ) หรือกิ่งแก่ เป็นส่วนที่เจริญมาจากกิ่งอ่อน มีข้อและปล้อง สามารถนำไปขยายพันธุ์โดยการติดตาได้
          ตา ( Bud ) ส่วนที่อยู่โคนใบที่พร้อมจะแตกตัวออกมาเป็นยอดอ่อนเรียกว่า ตาข้าง ( lateral or axillaly bud ) ตาที่อยู่ส่วนยอด เรียกว่า ตายอด ( terminal bud ) ตาข้างเป็นตารวมประกอบด้วย ตาเอก ( primary bud ) 1 ตา อยู่ตรงกลาง และตารอง ( secondary bud ) 2 ตา ตาเอกประกอบด้วยตายอดกลุ่มของดอกและมือ ( tendrill ) ตารองเป็นตาใบ แต่หากกิ่งมีความสมบูรณ์มาก ตารองก็จะมีดอกด้วย
          มือ ( Tendrill ) เป็นส่วนที่แตกออกมาจากข้อตรงข้ามกับใบ เป็นส่วนของช่อดอกที่จะไม่พัฒนาไปเป็นดอก ทำหน้สที่คล้ายมือ สำหรับยึดเกาะให้ต้น โดยทั่วไปอาจมีสองแฉก สามแฉก หรือไม่มีก็ได้ มีสีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ขององุ่น
          ใบ ( Leaf ) มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีก้านใบ อยู่ติดกับก้านใบ ( petiole ) อยู่ระหว่างกลางลักษณะแบบรูปร่างคล้ายมือ มีเส้นใบ 5 เส้นออกมาจากก้านใบ ขอบใบมีลักษณะหยักคล้ายฟันเลื่อย ( secration ) มีส่วนเว้าที่โคนใบติดกับก้านใบเรียกว่า ไซนัส ( sinus ) หรือจมูกใบ มีรูปร่างแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพันธุ์องุ่น ผิวของใบจะมีลักษณะเรียบ ( smooth ) ,ขรุขระ ( regose ) ,เว้า ( pineched closed concave ) ,หรือโค้งนูน ( rolled over or convex ) ตามสายพันธุ์
          ขน ( Hair ) ขนใบส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณใต้ใบและปลายยอด ในบางพันธุ์ก็ไม่มีขน ( glabous ) มีขนบางๆ ( cobwebby ) ขนสั้นๆละเอียด ( pubescent ) มีขนหนาแน่นแต่ยังมองเห็นใบ ( downy ) ปกคลุมใบด้วยขนอ่อนเหมือนขนสัตว์ ( tomentous ) จนถึงหนาแน่นจนมองไม่เห็นผิวใบเลย ( felty ) แตกต่างกันไปตามลักษณะประจำพันธุ์
          ดอก ( ) ดอกขององุ่น จะออกเป็นช่อบนกิ่งระหว่างตามที่ 3 ถึง 6 นับจากโคนกิ่ง ลักษณะของดอกจะแตกต่างกันตามพันธุ์ที่ปลูก โดยทั่วไปจะเป็นดอกที่สมบูรณ์ คือ มีทั้งเกศรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่บางพันธุ์จะมีเกศรตัวผู้และตัวเมียคนละดอก เมื่อเกศรผสมพันธุ์กันแล้วก็จะเริ่มติดผล
          พวงองุ่น ( Clusters ) คือกลุ่มของช่อผลที่ยึดอยู่กับกิ่งโดยก้านช่อ ( peduncle ) และพัฒนาออกไปเป็นแกนกลางของพวงองุ่นเรีกว่า ราคีส ( rachis ) ซึ่งจะเป็นส่วนของช่อขั้วบนจนถึงปลายสุดของก้านผล ( pedicle ) ช่อมีลักษณะต่างๆ เช่น ช่วงบนกว้างคล้ายไหล่ ( shoulder ) หรือลักษณะก้านช่อแตกออกเป็น 2 ก้าน เรียกว่า ปีก ( wing ) หรือช่อรวม ขึ้นอยู่กับความยาวของก้านช่อย่อยในพวงองุ่น และปริมาณผลต่อพวงองุ่น ทำให้เกิดลักษณะแน่นหรือหลวมได้แตกต่างกันไปตามพวงองุ่น ซึ่งแต่ละพันธุ์ก็มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกันไป
          ผล ( ) ผลองุ่น จะเกิดขึ้นได้เมื่อดอกได้รับการผสมพันธุ์แล้ว ดอกที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะหยุดเจริญเติบโตในที่สุดก็จะร่วงหล่น เมื่อดอกติดผลแล้วจะเป็นช่อ บางช่อผลอาจจะแน่นเกินไปต้องปลิดทิ้งเสียบ้าง ผลองุ่นจะโตเร็วในระยะแรก ระยะหลังจะโตช้าและแก่ช้า องุ่นทุกพันธุ์เมื่อผลอ่อนจะเป็นสีเขียวเหมือนกันหมด เมื่อมีผลขนาดใหญ่จะเปลี่ยนสีไปตามพันธุ์ ผลอ่อนขององุ่นจะเปรี้ยวเหมือนกันทุกพันธุ์ เมื่อเริ่มแก่จะหวานขึ้นตามพันธุ์ การเก็บผลจึงต้องใช้ความสังเกตเพื่อความเหมาะสม ผลขององุ่นจะมีเปลือก เนื้อ และเมล็ด บางพันธุ์เนื้อกับเปลือกจะแยกกัน บางพันธุ์ติดกัน โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีเปลือกหนา เมื่อสุกแล้วจะแตกง่าย ทำให้ไม่สะดวกต่อการขนส่ง เนื้อขององุ่นส่วนมากมีลักษณะใส ไม่มีสี แต่บางชนิดมีสีแดง ซึ่งเหมาะสำหรับทำเหล้าองุ่นสีแดง ขนาดของผลบางพันธุ์ก็ใหญ่มาก ขนาด 20 - 24 มิลลิเมตร เช่น พันธุ์แบล็คแฮมเบิร์ก