วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การบำรุงรักษาองุ่น

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษาองุ่นในรอบ 1 ปี ซึ่งจะสามารถทำให้ได้องุ่นจำนวน 2 รุ่น

รุ่นที่ 1

พ.ค. มิ.ย.   ก.ค. ส.ค. ก.ย.
- ตัดแต่งกิ่ง
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ออกใบพร้อมช่อดอก
- ให้น้ำสม่ำเสมอ
- ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน
กำจัดโรคแมลง
- ติดผลขนาดเล็ก
- ตัดแต่งผล
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ฉีดพ่นสารเคมีกำจัด
โรคแมลง
- ให้น้ำสม่ำเสมอ
- เลือกเก็บเกี่ยวผลผลิต
- ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21
ก่อนเก็บผล 20-25 วัน

 ประมาณเดือน กันยายนและตุลาคมพักต้นองุ่นเพื่อตัดแต่งกิ่งในรุ่นต่อไป

รุ่นที่ 2


พ.ย.
ธ.ค.
 
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
- ตัดแต่งกิ่ง
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ออกใบพร้อมช่อดอก
- ให้น้ำสม่ำเสมอ
- ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน
กำจัดโรคแมลง
- ติดผลขนาดเล็ก
- ตัดแต่งผล
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ฉีดพ่นสารเคมีกำจัด
โรคแมลง
- ให้น้ำสม่ำเสมอ
- เลือกเก็บเกี่ยวผลผลิต
- ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21
ก่อนเก็บผล 20-25 วัน

ประมาณเดือน มีนาคมและเมษายนพักต้นองุ่นเพื่อตัดแต่งกิ่งในรุ่นต่อไป
6. การดูแลรักษา
6.1 การตบแต่งกิ่งและการจัดกิ่ง หลังจากการตัดแต่งกิ่งได้ 15 วัน องุ่นจะแตกกิ่งใหม่ออกมาจำนวนมาก มีทั้งกิ่งที่มีช่อดอก กิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียว และกิ่งแขนงเล็กๆ ซึ่งกิ่งแขนงเล็กพวกนี้ให้ตัดออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะกิ่งที่มีช่อดอก และกิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียวที่เป็นกิ่งขนาดใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ใบที่อยู่โคนๆ กิ่งก็ให้ตัดออกด้วย เพื่อให้โปร่งไม่ทึบเกินไป เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้ว และเห็นว่ากิ่งยาวพอสมควรจัดกิ่งให้อยู่บนค้างอย่างเป็นระเบียบ กระจายตามค้างและไม่ทับซ้อนกันหรือก่ายกันไปมา เพราะกิ่งที่แตกออกมาใหม่จะแตกออกทุกทิศทุกทางเกะกะไปหมด วิธีจัดกิ่งคือ โน้มกิ่งให้มาพาดอยู่บนลวดแล้วอาจผูกด้วยเชือกกล้วย หรือใบกล้วยแห้งฉีกเป็นริ้วๆ ไม่ให้กิ่งที่ชี้ขึ้นไปด้านบนหรือห้อยย้อยลงด้านล่าง เพราะจะไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน เวลาจัดกิ่งต้องระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนดอก เพราะจะฉีกขาดเสียหายได้ง่าย พยายามจัดให้ช่อดอกห้อยลงใต้ค้างเสมอเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานต่างๆ ในสวน
6.2 การตัดแต่งข่อดอก หลังจากจัดกิ่งเรียบร้อยแล้ว ช่อดอกจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งต้นองุ่นออกดอกมากเกินไป ถ้าปล่อยไว้ทั้งหมดจะทำให้ต้นโทรมเร็ว คุณภาพของผลของผลไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้นถ้าเห็นว่า มีช่อดอกมากเกินไปให้ตัดออกบ้าง การตัดแต่งช่ออาจทำตั้งแต่กำลังเป็นดอกอยู่ก็ได้ แต่ไม่ค่อยนิยมเพราะไม่แน่ว่าช่อที่เหลือจะติดผลดีหรือไม่ จึงแนะนำให้ตัดแต่งช่อที่ติดเป็นผลเล็กๆ แล้ว โดยเลือกช่อที่เห็นว่ามีขนาดเล็กรูปทรงไม่สวย ติดผลไม่สม่ำเสมอ มีแมลงทำลายและเหลือช่อที่มีรูปทรงสวยไว้ให้กระจายอยู่ทั่วทุกกิ่งอย่างสม่ำเสมอ
6.3 การตัดแต่งผล องุ่นที่ปลูกกันอยู่ปัจจุบันในบ้านเรามักติดผลแน่นมาก ถ้าไม่ตัดแต่งผลในช่อจะแน่นเกินไป ทำให้ผลที่ได้มีขนาดเล็ก คุณภาพไม่ดี หรือเบียดเสียดกันจนผลบิดเบี้ยวทำให้ดูไม่สวยงาม จำเป็นต้องตัดแต่งผลใสช่อออกบ้างให้เหลือพอดี ไม่แน่นเกินไปหรือโปร่งเกินไป การตัดแต่งผลออกจากช่อมักทำ 1-2 ครั้ง เมื่อผลโตพอสมควร ผลองุ่นอ่อนที่ตัดออกมาไปดองไว้ขายได้ วิธีการให้ใช้กรรไกรขนาดเล็กสอดเข้าไปตัดที่ขั้วผล อย่าใช้มือเด็ดหรือดึง เพราะจะทำให้ช่อผลช้ำเสียหาย ฉีกขาด และมีส่วนของเนื้อผลติดอยู่ที่ขั้วทำให้โรคเข้าทำลายได้ง่าย
ข้อควรระวัง เมื่อองุ่นติดผลแล้ว ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในส่วนต้องสวมหมวกหรือโพกศีรษะเสมอ อย่าให้เส้นผมไปโดนผลองุ่นจะทำให้ผลองุ่นเน่าเสียได้
6.4 การใช้สารฮอร์โมน สารฮอร์โมนที่ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น ทำให้ช่อโปร่ง ผลไม่เบียดกันมาก ประหยัดแรงงานในการตัดแต่งผล นอกจากนี้ยังช่วยให้ผลยาว ผลโตขึ้นสวยงาม รสชาติดี สีสวย หวาน กรอบ ผลองุ่นที่ชุบด้วยฮอร์โมนจึงขายได้ราคาดี
สำหรับพันธุ์องุ่นที่นิยมใช้สารฮอร์โมนคือ พันธุ์ไวท์มะละกา เพราะติดผลดกมาก จนต้องตัดแต่งผลทิ้งเป็นจำนวนมาก การใช้สารฮอร์โมนจึงช่วยให้ช่อผลยืดยาวขึ้นไม่ต้องตัดแต่งมากและช่วยในผลขยายใหญ่ยาวขึ้นดูสวยงาม ส่วนพันธุ์คาร์ดินัลไม่ค่อยนิยมใช้เพราะองุ่นพันธุ์นี้ติดผลไม่ค่อยดก ผลไม่เบียดกันแน่น ถ้าใช้ฮอร์โมนจะทำให้ช่อองุ่นดูโหรงเหรงไม่น่าดู ปกติผลองุ่นพันธุ์นี้โตอยู่แล้วและเป็นผลทรงกลม
ส่วนฮอร์โมนที่ใช้ในการยืดช่อผล ขยายขนาดของผลคือ สาร " จิบเบอร์เรลลิน" ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาด (ชื่อทางการค้าต่างๆ กัน) อัตราที่ใช้ได้ผลคือ 20 พีพีเอ็ม (คือตัวยา 20 ส่วน ในน้ำ 1 ล้านส่วน) นิยมใช้ 1-2 ครั้งคือ ครั้งแรกหลังจากดอกบาน 7 วัน (ดอกบาน 80 เปอร์เซนต์ของทั้งช่อ) ส่วนครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกประมาณ 7 วัน
วิธีใช้ ารใช้สารฮอร์โมนนี้อาจใช้วิธีฉีดพ่นไปที่ช่อดอกช่อผลให้ทั่วทุกต้นทั้งแปลง ซึ่งแม้จะโดนใบก็ไม่มีผลต่อใบแต่อย่างใด วิธีนี้จะสิ้นเปลืองน้ำยามาก และฮอร์โมนถูกช่อองุ่นไม่ทั่วทั้งช่อแต่ประหยัดเวลาและแรงงานได้มากกว่า ส่วนอีกวิธีคือ ชุบช่อดอก ช่อผล ซึ่งประหยัดน้ำยาได้มากกว่า วิธีการทำง่าย แต่เสียแรงงานมากกว่าอุปกรณ์ง่ายๆ สำหรับการชุบฮอร์โมนคือ หาถุงพลาสติกขนาดโตพอที่จะสวมช่อองุ่นได้มา 2 ใบ ใบแรกใส่น้ำธรรมดาลงไปประมาณ 1 ใน 3 ของถุง ใบที่ 2 ใส่สารฮอร์โมนที่ผสมเตรียมไว้ลงไปประมาณครึ่งถุงเอาถุงใบที่มีฮอร์โมนสวมลงไปในถุงใบที่มีน้ำ จักปากถุงให้เสมอกันแล้วพับตลบปากถุงออกด้านนอก 2-3 พับ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในถุงไหลออกมาได้ เมื่อจะชุบช่อองุ่นให้วางถุงบนฝ่ามือ เปิดปากถุงให้กว้างแล้วสวมเข้าไปที่ช่อองุ่น บีบฝ่ามือน้ำยาก็จะทะลักขึ้นมาด้านบนทำให้เปียกทั้งช่อ แล้วเปลี่ยนไปชุบช่อต่อๆ ไป เวลาที่ใช้ในการชุบช่อแต่ละช่อเพียงอึดใจเดียว คือ เมื่อบีบถุงน้ำยาทะลักขึ้นไปโดนช่อแล้วก็คลายมือที่บีบแล้วนำถุงน้ำยาออกทันที ฉะนั้นคนที่ชำนาญจะทำได้รวดเร็วมากเมื่อชุบช่อไปได้สักพักน้ำยาในถุงจะพร่องลง ก็เติมลงไปใหม่ให้ได้ระดับเดิม คือ ประมาณครึ่งถุงตลอดเวลา การบีบต้องระวังอย่าให้แรงมากเพราะน้ำยาจะทะลักล้นออกนอกถุงเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
ข้อควรระวัง การใช้ฮอร์โมนชุบช่อนี้เป็นโอกาสที่จะทำให้โรคต่างๆ ระบาดจากช่อหนึ่งไปยังอีกช่อหนึ่งได้ง่าย ถ้าเป็นช่วงที่โรคกำลังระบาดอยู่ ควรเติมยากันราลงไปในฮอร์โมนนั้นด้วย และการใช้ฮอร์โมนต้องระวังเกี่ยวกับการเตรียมสารให้ได้ความเข้มข้นที่กำหนด การผิดพลาดเพียงเล็กน้อยจะทำให้ผลองุ่นร่วงง่าย ขั้วผลเปราะนั่นเอง การเก็บเกี่ยวและการขนส่งจึงต้องระมัดระวังมาก แต่สามารถแก้ไจได้โดยการใช้สาร 4-CPA (4-Chlorophenoxy acetic

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น