ศัตรูขององุ่น
มีทั้งแมลงและอื่น ๆ ซึ่งได้แก่
1. ไส้เดือนฝอย เป็นไส้เดือนที่เล็กมาก จะลายรากและอุดทางเดินของอาหาร ทำให้องุ่นเฉาแห้งและตายในที่สุด การกำจัดใช้ยาคลอร์เดนออลดรีน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 2 แกลลอน รดบริเวณโคนต้น ส่วนการป้องกันให้รดน้ำยานี้ที่โคนต้น สัปดาห์ละ 4 ครั้ง
2. หนอน กัดกินใบมีหลายชนิด หากพบน้อยก็จับทำลายให้หมด ถ้ามากใช้วิธีการฉีดยา
1) หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง ชาวสวนเรียกว่า " หนอนหนังเหนียว" ทำความเสียหายต่อทุกส่วนขององุ่นทั้งใบ ดอก ผลและยอดที่จะเจริญไปเป็นดอกและผลในฤดูถัดไป หนอนกระทู้หอมตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กวางไข่เป็นกลุ่ม 20-80 ฟอง บริเวณด้านหลังใบ ไข่ปกคลุมด้วยขนสีขาว หนอนวัยอ่อนจะแทะผิวใบพรุนเป็นร่างแหทำให้ใบแห้งตายและเมื่อหนอนโตเต็มที่จะกัดกินใบอ่อน ช่อดอกหรือผลอ่อนขององุ่นเสียหาย
การป้องกันกำจัด
1. โดยการใช้เชื้อไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอมฉีดพ่นเมื่อพบตัวหนอนบนใบองุ่น หนอนที่มากัดกินใบจะได้รับเชื้อไวรัสทำให้เป็นโรค Grassarie one และตายภายใน 1-2 วัน
2. ใช้กับดักแสงไฟ ( Black light) หรือกาวดักเหนียวเพื่อดักผีเสื้อทั้งตัวผู้ตัวเมีย ก่อนจะขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป โดยวางไว้ในสวนองุ่นโดยเฉพาะช่วงตัดแต่งกิ่งและยอดอ่อนเริ่มแตกออกมา
3. โดยการใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ชูริงเจนซิล ( Bacillus Thuringicnsis) ใช้ชื่อการค้า เช่น แบคโทสปิน เอชดับบลิวพี , ฟลอร์แบค เอฟซี สำหรับหนอนกระทู้หอม
4. ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกลุ่มคาร์บาเมท เช่น เมทโธมิล 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารกลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโต เช่น ปูโพรเฟซิน 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อระงับการลอกคราบของตัวหนอนกระทู้
2) หนอนเจาะสมอฝ้าย ทำลายองุ่นโดยกัดกินส่วนดอกและเมล็ดภายในผลองุ่น ตั้งแต่ระยะติดดอกจนถึงดอกบาน จะพบช่อดอกถูกกัดกินเป็นแถบและระยะช่อผลอ่อนอายุระหว่าง 10-14 วัน หลังจากดอกบานแล้วจะเจาะกินเมล็ดภายในหมดและย้ายไปกัดกินผลอื่นต่อไปผลที่ถูกทำลายจะเป็นรู หนอน 1 ตัว สามารถทำลายได้หลายช่อดอกโดยเฉพาะช่อดอกที่อยู่ใกล้เคียงกัน หนอนมีตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดกลาง ตัวผีเสื้อจะซ่อนอยู่ตามใบแก่ขององุ่น
การป้องกันกำจัด
1. ในระยะติดดอกและผลอ่อนควรหมั่นตรวจดูช่อองุ่น เมื่อพบหนอนหรือตัวผีเสื้อควรจับทิ้งทำลายเพื่อไม่ให้ลุกลามไปช่ออื่น
2. ใช้เชื้อไวรัส NPV ของหนอนเจาะสมอฝ้ายฉีดพ่นเช่นเดียวกับหนอนกระทู้หอม
3. ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มคาร์โบซัลเฟน เช่น พอสซ์ อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3. เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อน ทำให้ยอดใบอ่อนหักงอ ใบแห้งกรอบไม่เจริญเติบโตและตายในที่สุด ถ้าทำลายระยะดอกทำให้ดอกร่วงไม่เกิดผลหรือทำให้ผลมีตำหนิ พบการระบาดตั้งแต่หลังจากตัดกิ่งจนถึงผลโตเต็มที่เนื่องจากองุ่นมีการแตกยอดตลอดทั้งปี
การป้องกันกำจัด
1. ควรหมั่นตรวจดูเพลี้ยไฟตามยอดใบอ่อน ช่อดอกหรือผลอ่อน ถ้าพบเป็นร้อยกร้านสีน้ำตาลควรรีบป้องกันกำจัดทันที
2. ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นในพุ่มให้ชุ่ม จะทำให้การระบาดลดลงเพราะเพลี้ยไฟไม่ชอบความชื้นสูง
3. ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มคาร์โบซัลแฟน เช่น พอสซ์พ่นให้ทั่วต้น 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน
3. แมลงปีกแข็ง จะกัดกินใบองุ่นให้เสียหาย ป้องกันและกำจัดโดยใช้ยา
4. ตั๊กแตน จะกัดกินยอดอ่อนของกิ่งที่กำลังแตกตาใหม่ ๆ ป้องกันและกำจัดโดยใช้
5. หนอนผีเสื้อ ซึ่งจะม้วนตัวอยู่ในใบและจะกัดกินใบ ป้องกันและกำจัดโดยใช้ยา
6. เพลี้ยต่าง ๆ จะเกาะตามใบและต้นโดยจะดูดน้ำกิน จนกระทั่งต้นองุ่นตาย ใช้ยา
7. แมงมุมแดง มีขนาดตัวเล็กมากจะเกาะกินและดูดน้ำในใบ ทำให้ใบเหลือง ร่วงหล่นไป การป้องกันรักษาใช้กำมะถันผงหรือกำมะถันละลายน้ำ
ฉีดพ่นตามใบสลับกับพาราไธออนหรือคลอร์เดน
8. ปลวก จะกัดกินราก การกำจัดทำได้โดยพรวนดินที่โคน ใช้ยาดีลดรีน น้ำราดลงในดิน และหมั่นตรวจดูแลอยู่เสมอ
9. นก จะคอยรบกวนผลองุ่นที่ใกล้จะสุกโดยจิกกิน ควรใช้ลวดตาข่ายหรือถุงพลาสติก หรือใบตองแห้งห่อพวงองุ่นไว้
ผู้ปลูกองุ่นจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องการป้องกันไม่ให้โรคศัตรูเกิดขึ้น โดยปฏิบัติ ดังนี้
1. รักษาความสะอาดบริเวณที่ปลูกองุ่นมิให้รกรุ่งรัง
2. บำรุงต้นองุ่นให้แข็งแรง มีกำลังต้านทานโรค
3. สังเกตต้นองุ่นที่ปลูก หากองุ่นผิดสังเกตต้องหาสาเหตุแก้ไข หรือเมื่อโรคและศัตรูรบกวนต้องทำการกำจัด หรือฉีด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น