วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

องุ่นเบื้องต้น

     องุ่น
          องุ่นเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Vitis และในวงศ์ Vitacea ซึ่งมีอยู่ประมาณ 11 สกุล และ 600 ชนิด สกุล Vitis เป็นสกุลเดียวที่เป็นผลไม้รับประทานได้ องุ่นเป็นไม้เลื้อยประเภทไม้ยืนต้น มือมือจับเพื่อเกาะยึด เป็นไม้ที่เกิดในแถบอากาศอบอุ่น แต่ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อนถึงอากาศร้อน
องุ่นในประเทศไทย
                    จากรายงานของกรมวิชาการเกษตร มีหลักฐานการนำเข้ามาปลูกเมื่อประมาณสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการขนส่งในรูปเมล็ดพันธุ์ทางเรือ และนำเข้าโดยขุนนางผู้ติดตาม อีกทางหนึ่งเข้ามาทางอินโดจีนโดยชาวฝรั่งเศส และเริ่มมีการปลูกองุ่นในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ยังไม่แพร่หลาย จนกระทั่งประมาณปี 2493 หลวงสมานวนกิจ ได้นำองุ่นจากแคลิฟอร์เนียมาปลูกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนการทั่งประมาณปี พ.ศ. 2512 ศาสตราจารย์ปวิณ ปุณศรี และคณะ ได้ริเริ่มศึกษาวิจัยการปลูกองุ่นในประเทศไทยขึ้น โดยได้นำองุ่นจากยุโรปหลายสายพันธุ์มาปลูกทดสอบที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มแรกที่คนไทยได้รู้จักกับองุ่นที่เป็นต้นแบบการปลูกองุ่นในประเทศ 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์คาร์ดินัน ( Cadinal ) และพันธุ์ไวท์มะละกา ( White Malaga ) ที่เป็นที่รู้จักขององุ่นรับประทานสดพันธุ์แรกๆ ที่ปลูกในประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการนำเอาองุ่นพันธุ์ใหม่ๆ จากต่างประเทศเข้ามาปลูกอีกมากมาย ทั้งพันธุ์ที่มีเมล็ด และไม่มีเมล็ด อีกทั้งเริ่มมีการนำองุ่นพันธุ์ที่ใช้ทำไวน์เข้ามาปลูกมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการปลูกองุ่นในทางการค้าได้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น และขยายพื้นที่ปลูกไปทั่งทุกภูมิภาคของประเทศไทย
ส่วนประกอบของต้นองุ่น
          ราก ( Root ) รากขององุ่นหยั่งลงสู่ดินเพื่อยึดลำต้นให้อยู่ได้อย่างมั่นคงทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารเพื่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ดังนั้น จะต้องปรับปรุงดินที่ปลูกให้อุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย มีความเหมาะสมกับองุ่นที่ปลูก เพื่อให้รากหาอาหารได้ง่าย รากขององุ่นบางพันธุ์ไม่แข็งแรง อ่อนเปราะ ไม่ทนทาน เกิดโรคใต้ดินได้ง่าย ดังนั้นผู้ปลูกองุ่นจะต้องคัดเลือกพันธุ์องุ่นที่มีรากแข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลงใต้ดินที่มารบกวน และต้องคอยหมั่นตรวจดูแลอยู่เสมอ ๆ
          ลำต้น ( Trunk ) : ลำต้นขององุ่น มีลักษณะเป็นเถาอยู่เหนือพื้นดินขึ้นไปถึงตอนที่แตกแยกออกเป็นกิ่งสาขา ทำหน้าที่ค้ำจุนพยุงกิ่งก้านสาขา ดอกและผล ลำต้นหรือเถานี้จะเลื้อยไปไกล แต่บางชนิดจะไม่เลื้อยไปไกล การปลูกองุ่นจะต้องใช้หลักปักให้องุ่นตั้งต้นตรง เมื่อปลูกได้ประมาณ 1 ปี เถาโตพอสมควร ให้ตัดเถาสูงประมาณ 1 - 2 เมตร ต่อจากปลายที่ตัดจะแตกกิ่งสาขาเจริญเติบโตต่อไป เมื่อมีอายุมากขึ้นลำต้นจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ปลูกองุ่นต้องบำรุงรักษาลำต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อให้เป็นทางเดินของอาหารจากรากไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ต่อไป
          กิ่งหลัก ( Arms or Cordon ) : เป็นกิ่งที่แตกออกมาจากลำต้นที่รักษาไว้อย่างถาวร อาจมีกิ่งเดียว สองกิ่ง หรือมากกว่านั้นก็ได้ ไว้สำหรับดัดวางแนวตามรูปแบบที่ต้องการเพื่อให้แตกกิ่งและให้ผลผลิตต่อไป
          สปอร์ ( Spur ) หรือเดือย เป็นกิ่งแขนงที่แตกออกมาจากกิ่งหลัก และเลี้ยงไว้จนเป็นกิ่งแก่ เรียกว่า เคน แล้วตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ผลผลิตต่อไป
          กิ่งอ่อน ( Shoot ) เป็นกิ่งอ่อนที่แตกออกมาจากตากิ่งบนเดือย เป็นกิ่งใหม่ที่ให้ผลผลิตและจะกลายเป็นเคนต่อไปเมื่อแก่
          เคน ( Cane ) หรือกิ่งแก่ เป็นส่วนที่เจริญมาจากกิ่งอ่อน มีข้อและปล้อง สามารถนำไปขยายพันธุ์โดยการติดตาได้
          ตา ( Bud ) ส่วนที่อยู่โคนใบที่พร้อมจะแตกตัวออกมาเป็นยอดอ่อนเรียกว่า ตาข้าง ( lateral or axillaly bud ) ตาที่อยู่ส่วนยอด เรียกว่า ตายอด ( terminal bud ) ตาข้างเป็นตารวมประกอบด้วย ตาเอก ( primary bud ) 1 ตา อยู่ตรงกลาง และตารอง ( secondary bud ) 2 ตา ตาเอกประกอบด้วยตายอดกลุ่มของดอกและมือ ( tendrill ) ตารองเป็นตาใบ แต่หากกิ่งมีความสมบูรณ์มาก ตารองก็จะมีดอกด้วย
          มือ ( Tendrill ) เป็นส่วนที่แตกออกมาจากข้อตรงข้ามกับใบ เป็นส่วนของช่อดอกที่จะไม่พัฒนาไปเป็นดอก ทำหน้สที่คล้ายมือ สำหรับยึดเกาะให้ต้น โดยทั่วไปอาจมีสองแฉก สามแฉก หรือไม่มีก็ได้ มีสีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ขององุ่น
          ใบ ( Leaf ) มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีก้านใบ อยู่ติดกับก้านใบ ( petiole ) อยู่ระหว่างกลางลักษณะแบบรูปร่างคล้ายมือ มีเส้นใบ 5 เส้นออกมาจากก้านใบ ขอบใบมีลักษณะหยักคล้ายฟันเลื่อย ( secration ) มีส่วนเว้าที่โคนใบติดกับก้านใบเรียกว่า ไซนัส ( sinus ) หรือจมูกใบ มีรูปร่างแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพันธุ์องุ่น ผิวของใบจะมีลักษณะเรียบ ( smooth ) ,ขรุขระ ( regose ) ,เว้า ( pineched closed concave ) ,หรือโค้งนูน ( rolled over or convex ) ตามสายพันธุ์
          ขน ( Hair ) ขนใบส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณใต้ใบและปลายยอด ในบางพันธุ์ก็ไม่มีขน ( glabous ) มีขนบางๆ ( cobwebby ) ขนสั้นๆละเอียด ( pubescent ) มีขนหนาแน่นแต่ยังมองเห็นใบ ( downy ) ปกคลุมใบด้วยขนอ่อนเหมือนขนสัตว์ ( tomentous ) จนถึงหนาแน่นจนมองไม่เห็นผิวใบเลย ( felty ) แตกต่างกันไปตามลักษณะประจำพันธุ์
          ดอก ( ) ดอกขององุ่น จะออกเป็นช่อบนกิ่งระหว่างตามที่ 3 ถึง 6 นับจากโคนกิ่ง ลักษณะของดอกจะแตกต่างกันตามพันธุ์ที่ปลูก โดยทั่วไปจะเป็นดอกที่สมบูรณ์ คือ มีทั้งเกศรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่บางพันธุ์จะมีเกศรตัวผู้และตัวเมียคนละดอก เมื่อเกศรผสมพันธุ์กันแล้วก็จะเริ่มติดผล
          พวงองุ่น ( Clusters ) คือกลุ่มของช่อผลที่ยึดอยู่กับกิ่งโดยก้านช่อ ( peduncle ) และพัฒนาออกไปเป็นแกนกลางของพวงองุ่นเรีกว่า ราคีส ( rachis ) ซึ่งจะเป็นส่วนของช่อขั้วบนจนถึงปลายสุดของก้านผล ( pedicle ) ช่อมีลักษณะต่างๆ เช่น ช่วงบนกว้างคล้ายไหล่ ( shoulder ) หรือลักษณะก้านช่อแตกออกเป็น 2 ก้าน เรียกว่า ปีก ( wing ) หรือช่อรวม ขึ้นอยู่กับความยาวของก้านช่อย่อยในพวงองุ่น และปริมาณผลต่อพวงองุ่น ทำให้เกิดลักษณะแน่นหรือหลวมได้แตกต่างกันไปตามพวงองุ่น ซึ่งแต่ละพันธุ์ก็มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกันไป
          ผล ( ) ผลองุ่น จะเกิดขึ้นได้เมื่อดอกได้รับการผสมพันธุ์แล้ว ดอกที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะหยุดเจริญเติบโตในที่สุดก็จะร่วงหล่น เมื่อดอกติดผลแล้วจะเป็นช่อ บางช่อผลอาจจะแน่นเกินไปต้องปลิดทิ้งเสียบ้าง ผลองุ่นจะโตเร็วในระยะแรก ระยะหลังจะโตช้าและแก่ช้า องุ่นทุกพันธุ์เมื่อผลอ่อนจะเป็นสีเขียวเหมือนกันหมด เมื่อมีผลขนาดใหญ่จะเปลี่ยนสีไปตามพันธุ์ ผลอ่อนขององุ่นจะเปรี้ยวเหมือนกันทุกพันธุ์ เมื่อเริ่มแก่จะหวานขึ้นตามพันธุ์ การเก็บผลจึงต้องใช้ความสังเกตเพื่อความเหมาะสม ผลขององุ่นจะมีเปลือก เนื้อ และเมล็ด บางพันธุ์เนื้อกับเปลือกจะแยกกัน บางพันธุ์ติดกัน โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีเปลือกหนา เมื่อสุกแล้วจะแตกง่าย ทำให้ไม่สะดวกต่อการขนส่ง เนื้อขององุ่นส่วนมากมีลักษณะใส ไม่มีสี แต่บางชนิดมีสีแดง ซึ่งเหมาะสำหรับทำเหล้าองุ่นสีแดง ขนาดของผลบางพันธุ์ก็ใหญ่มาก ขนาด 20 - 24 มิลลิเมตร เช่น พันธุ์แบล็คแฮมเบิร์ก

เเมลงศัตรูองุ่น

ศัตรูขององุ่น
มีทั้งแมลงและอื่น ๆ ซึ่งได้แก่

1.
ไส้เดือนฝอย เป็นไส้เดือนที่เล็กมาก จะลายรากและอุดทางเดินของอาหาร ทำให้องุ่นเฉาแห้งและตายในที่สุด การกำจัดใช้ยาคลอร์เดนออลดรีน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 2 แกลลอน รดบริเวณโคนต้น ส่วนการป้องกันให้รดน้ำยานี้ที่โคนต้น สัปดาห์ละ 4 ครั้ง

2.
หนอน กัดกินใบมีหลายชนิด หากพบน้อยก็จับทำลายให้หมด ถ้ามากใช้วิธีการฉีดยา
1) หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง ชาวสวนเรียกว่า " หนอนหนังเหนียว" ทำความเสียหายต่อทุกส่วนขององุ่นทั้งใบ ดอก ผลและยอดที่จะเจริญไปเป็นดอกและผลในฤดูถัดไป หนอนกระทู้หอมตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กวางไข่เป็นกลุ่ม 20-80 ฟอง บริเวณด้านหลังใบ ไข่ปกคลุมด้วยขนสีขาว หนอนวัยอ่อนจะแทะผิวใบพรุนเป็นร่างแหทำให้ใบแห้งตายและเมื่อหนอนโตเต็มที่จะกัดกินใบอ่อน ช่อดอกหรือผลอ่อนขององุ่นเสียหาย
การป้องกันกำจัด
1. โดยการใช้เชื้อไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอมฉีดพ่นเมื่อพบตัวหนอนบนใบองุ่น หนอนที่มากัดกินใบจะได้รับเชื้อไวรัสทำให้เป็นโรค Grassarie one และตายภายใน 1-2 วัน
2. ใช้กับดักแสงไฟ ( Black light) หรือกาวดักเหนียวเพื่อดักผีเสื้อทั้งตัวผู้ตัวเมีย ก่อนจะขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป โดยวางไว้ในสวนองุ่นโดยเฉพาะช่วงตัดแต่งกิ่งและยอดอ่อนเริ่มแตกออกมา
3. โดยการใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ชูริงเจนซิล ( Bacillus Thuringicnsis) ใช้ชื่อการค้า เช่น แบคโทสปิน เอชดับบลิวพี , ฟลอร์แบค เอฟซี สำหรับหนอนกระทู้หอม
4. ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกลุ่มคาร์บาเมท เช่น เมทโธมิล 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารกลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโต เช่น ปูโพรเฟซิน 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อระงับการลอกคราบของตัวหนอนกระทู้
2) หนอนเจาะสมอฝ้าย ทำลายองุ่นโดยกัดกินส่วนดอกและเมล็ดภายในผลองุ่น ตั้งแต่ระยะติดดอกจนถึงดอกบาน จะพบช่อดอกถูกกัดกินเป็นแถบและระยะช่อผลอ่อนอายุระหว่าง 10-14 วัน หลังจากดอกบานแล้วจะเจาะกินเมล็ดภายในหมดและย้ายไปกัดกินผลอื่นต่อไปผลที่ถูกทำลายจะเป็นรู หนอน 1 ตัว สามารถทำลายได้หลายช่อดอกโดยเฉพาะช่อดอกที่อยู่ใกล้เคียงกัน หนอนมีตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดกลาง ตัวผีเสื้อจะซ่อนอยู่ตามใบแก่ขององุ่น
การป้องกันกำจัด
1. ในระยะติดดอกและผลอ่อนควรหมั่นตรวจดูช่อองุ่น เมื่อพบหนอนหรือตัวผีเสื้อควรจับทิ้งทำลายเพื่อไม่ให้ลุกลามไปช่ออื่น
2. ใช้เชื้อไวรัส NPV ของหนอนเจาะสมอฝ้ายฉีดพ่นเช่นเดียวกับหนอนกระทู้หอม
3. ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มคาร์โบซัลเฟน เช่น พอสซ์ อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3. เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อน ทำให้ยอดใบอ่อนหักงอ ใบแห้งกรอบไม่เจริญเติบโตและตายในที่สุด ถ้าทำลายระยะดอกทำให้ดอกร่วงไม่เกิดผลหรือทำให้ผลมีตำหนิ พบการระบาดตั้งแต่หลังจากตัดกิ่งจนถึงผลโตเต็มที่เนื่องจากองุ่นมีการแตกยอดตลอดทั้งปี
การป้องกันกำจัด
1. ควรหมั่นตรวจดูเพลี้ยไฟตามยอดใบอ่อน ช่อดอกหรือผลอ่อน ถ้าพบเป็นร้อยกร้านสีน้ำตาลควรรีบป้องกันกำจัดทันที
2. ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นในพุ่มให้ชุ่ม จะทำให้การระบาดลดลงเพราะเพลี้ยไฟไม่ชอบความชื้นสูง
3. ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มคาร์โบซัลแฟน เช่น พอสซ์พ่นให้ทั่วต้น 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน
3. แมลงปีกแข็ง จะกัดกินใบองุ่นให้เสียหาย ป้องกันและกำจัดโดยใช้ยา

4.
ตั๊กแตน จะกัดกินยอดอ่อนของกิ่งที่กำลังแตกตาใหม่ ๆ ป้องกันและกำจัดโดยใช้

5.
หนอนผีเสื้อ ซึ่งจะม้วนตัวอยู่ในใบและจะกัดกินใบ ป้องกันและกำจัดโดยใช้ยา

6.
เพลี้ยต่าง ๆ จะเกาะตามใบและต้นโดยจะดูดน้ำกิน จนกระทั่งต้นองุ่นตาย ใช้ยา

7.
แมงมุมแดง มีขนาดตัวเล็กมากจะเกาะกินและดูดน้ำในใบ ทำให้ใบเหลือง ร่วงหล่นไป การป้องกันรักษาใช้กำมะถันผงหรือกำมะถันละลายน้ำ
ฉีดพ่นตามใบสลับกับพาราไธออนหรือคลอร์เดน

8.
ปลวก จะกัดกินราก การกำจัดทำได้โดยพรวนดินที่โคน ใช้ยาดีลดรีน น้ำราดลงในดิน และหมั่นตรวจดูแลอยู่เสมอ

9.
นก จะคอยรบกวนผลองุ่นที่ใกล้จะสุกโดยจิกกิน ควรใช้ลวดตาข่ายหรือถุงพลาสติก หรือใบตองแห้งห่อพวงองุ่นไว้

ผู้ปลูกองุ่นจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องการป้องกันไม่ให้โรคศัตรูเกิดขึ้น โดยปฏิบัติ ดังนี้

1.
รักษาความสะอาดบริเวณที่ปลูกองุ่นมิให้รกรุ่งรัง
2.
บำรุงต้นองุ่นให้แข็งแรง มีกำลังต้านทานโรค
3.
สังเกตต้นองุ่นที่ปลูก หากองุ่นผิดสังเกตต้องหาสาเหตุแก้ไข หรือเมื่อโรคและศัตรูรบกวนต้องทำการกำจัด หรือฉีด

การทำค้างองุ่น

การทำค้างให้กับองุ่น
การทำค้างจะทำหลังจากที่ปลูกองุ่นแล้วประมาณ 1 ปี ซึ่งต้นองุ่นจะสูงพอดีที่จะขึ้นค้างได้ ค้างต้นองุ่นมีหลายแบบด้วยกันแต่แบบที่นิยมกันมากคือ ค้างแบบเสาคู่แล้วใช้ลวดขึง มีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้
การเลือกเสาค้าง เสาค้างอาจใช้เสาซีเมนต์หน้า 3 นิ้ว หรือ 4 นิ้วก็ได้ เสาค้างซีเมนต์จะแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานหลายปี แต่มีราคาแพงและหนัก เวลาทำค้างต้องเสียแรงงงานมาก ถ้าใช้เสาไม้ให้ใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดหน้า 2x3 นิ้ว หรือหน้า 2x4 นิ้ว หรือเสากลมก็ได้ เสาควรยาวประมาณ 2.5- 3 เมตร หรือยาวกว่านี้ ซึ่งเมื่อปักลงดินเรียบร้อยแล้ว ให้เหลือส่วนที่อยู่เหนือดินประมาณ 1.50 เมตร
การปักเสา ให้ปักเป็นคู่ 2 ข้างของแปลงในแนวเดียวกัน โดยให้เสาห่างกัน 2 เมตร และเมื่อติดคานแล้ว ให้เหลือหัวไม้ยื่นออกไปทั้งสองข้างๆ ละ 50 เซนติเมตร (ดังภาพแบบที่ 1) ถ้าปักเสาห่างกัน 3 เมตร เมื่อติดคานบนแล้วจะพอดีหัวไม้ (ตามภาพแบบที่ 2) การติดคานเชื่อมระหว่างเสาแต่ละคู่ให้ใช้น๊อตเหล็กเป็นตัวยึด ไม่ควรยึดด้วยตะปูเพราะจะไม่แข็งแรงพอ ระยะห่างระหว่างเสาแต่ละคู่ประมาณ 10- 20 เมตร ยิ่งปักเสาถี่จะยิ่งแข็งแรงทนทานแต่ก็สิ้นเปลืองมากบางแห่งจึงปักเสาเพียง 3 คู่ คือ หัวแปลง กลางแปลง และท้ายแปลง และระหว่างเสาแต่ละคู่ให้ค้างไม้รวกช่วยค้ำไว้เป็นระยะๆ ซึ่งก็สามารถใช้ได้และประหยัดดีแต่ต้องคอยเปลี่ยนค้างไม้รวกบ่อย
การขึงลวด ลวดที่ใช้ทำค้าง ให้ใช้ลวดขนาดใหญ่พอสมควรคือ ลวดเบอร์ 11 ซึ่งลวดเบอร์ 11 หนัก 1 กิโลกรัม จะยาวประมาณ 18 เมตร ให้ขึงลวดพาดไปตามคานแต่ละคู่ตลอดความยาวของแปลง โดยใช้ลวด 4-6 เส้น เว้นระยะลวดให้ห่างเท่าๆ กัน ที่หัวแปลงและท้ายแปลงให้ใช้หลักไม้ขนาดใหญ่ตอกฝังลงไปในดินให้แน่น แล้วใช้ลวดโยงจากค้างมามัดไว้ที่หลักนี้เพื่อให้ลวดตึง หลังจากขึงลวดเสร็จแล้วให้ตรวจดูว่าลวดหย่อนตกท้องช้างหรือไม่ ถ้าหย่อนมากให้ใช้ไม้รวกขนาดใหญ่ปักเป็นคู่ตามแนวเสาค้าง แล้วใช้ไม้รวกอีกอันหนึ่งพาดขวางผูกด้านบนในลักษณะเดียวกับค้าง เพื่อช่วยรับน้ำหนักเป็นระยะๆ ไปตลอดทั้งแปลง เพราะเมื่อต้นองุ่นขึ้นค้างจนเต็มแล้วจะมีน้ำหนักมากจำเป็นต้องช่วยรองรับน้ำหนักหรือค้ำยันไว้ไม่ให้ค้างหย่อน
การทำค้างองุ่น ที่นิยมกันมี 3 แบบ ดังนี้
1. การทำค้างแบบร้านสูง หรือร้านเตี้ย โดยใช้ไม้ระแนงตีเป็นร้านจะให้สูงหรือ เตี้ยก็แล้วแต่ความต้องการหรือจะใช้ลวดตาข่ายห่าง ๆ ขึงก็ได้ เมื่อองุ่นออกผลพวงองุ่นจะห้อยลงมาใต้ร้าน แต่ มีข้อเสียก็คือ ยากแก่การตัดแต่ง และการป้องกันโรค
2. การทำค้างแบบรั้ว วิธีการคือ ใช้เสาไม้หรือเสาซีเมนต์หรือเสาเหล็กปักเป็นแถวยาว เสาต้นแรกและต้นสุดท้ายต้องแข็งแรง เพื่อเป็นตัวยึดเหนี่ยวลวดในเวลาขึงจะได้มั่นคง ส่วนเสาตรงกลางจะเล็กบางก็ได้ความสูงของเสาเมื่อปักลงไปในดินแล้วให้เหลือความสูงไว้เท่ากับความสูงของคน หรือสูงกว่าเล็กน้อยการปักเสาห่างกันประมาณ 12 - 15 ฟุต การขึงลวดจะขึงกี่เส้นก็ได้ แต่ลวดเส้นล่างต้องสูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ลวดที่ใช้ขึงจะใช้ลวด เบอร์ 9 หรือเบอร์ 10 หรือเบอร์ 11 ก็ได้แต่มือองุ่นมักชอบเกาะลวดเส้นเล็กมากกว่าลวดเส้นใหญ่ หากไม่ใช้ลวดขึงจะใช้ ไม้ระแนงแทนลวดก็ได้ แต่จะสิ้นเปลืองมากว่าการใช้ลวด  ข้อดี ของการทำค้างแบบรั้ว คือ สะดวกต่อการตัดแต่ง การบำรุงรักษา การป้องกันโรคและศัตรูพืช
3. การทำค้างแบบค้างเตี้ยเป็นรูปตัวที หรือรูปไม้กางเขน โดยใช้เสาไม้หรือเสาซีเมนต์ปักเป็นแถวให้สูงจากพื้นดิน 5 - 6 ฟุต ตอนบนของหัวเสาใช้ไม้ตีเป็นรูปไม้กางเขนยาว 1.00 - 1.20 เมตร สามารถขึ้นลวดได้ 3 – 4 แถว เพื่อให้เถาองุ่นจับเกาะค้าง แบบนี้ใบองุ่นสามารถรับ แสงแดดได้เต็มที่ ง่ายต่อการตัดแต่งและการป้องกันโรควัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ทำค้างองุ่น ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุดังกล่าวเสมอไป จะใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้รวกก็ได้ตามความเหมาะสม ทั้งในด้านความสะดวกและการประหยัด

การบำรุงรักษาองุ่น

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษาองุ่นในรอบ 1 ปี ซึ่งจะสามารถทำให้ได้องุ่นจำนวน 2 รุ่น

รุ่นที่ 1

พ.ค. มิ.ย.   ก.ค. ส.ค. ก.ย.
- ตัดแต่งกิ่ง
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ออกใบพร้อมช่อดอก
- ให้น้ำสม่ำเสมอ
- ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน
กำจัดโรคแมลง
- ติดผลขนาดเล็ก
- ตัดแต่งผล
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ฉีดพ่นสารเคมีกำจัด
โรคแมลง
- ให้น้ำสม่ำเสมอ
- เลือกเก็บเกี่ยวผลผลิต
- ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21
ก่อนเก็บผล 20-25 วัน

 ประมาณเดือน กันยายนและตุลาคมพักต้นองุ่นเพื่อตัดแต่งกิ่งในรุ่นต่อไป

รุ่นที่ 2


พ.ย.
ธ.ค.
 
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
- ตัดแต่งกิ่ง
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ออกใบพร้อมช่อดอก
- ให้น้ำสม่ำเสมอ
- ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน
กำจัดโรคแมลง
- ติดผลขนาดเล็ก
- ตัดแต่งผล
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
- ฉีดพ่นสารเคมีกำจัด
โรคแมลง
- ให้น้ำสม่ำเสมอ
- เลือกเก็บเกี่ยวผลผลิต
- ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21
ก่อนเก็บผล 20-25 วัน

ประมาณเดือน มีนาคมและเมษายนพักต้นองุ่นเพื่อตัดแต่งกิ่งในรุ่นต่อไป
6. การดูแลรักษา
6.1 การตบแต่งกิ่งและการจัดกิ่ง หลังจากการตัดแต่งกิ่งได้ 15 วัน องุ่นจะแตกกิ่งใหม่ออกมาจำนวนมาก มีทั้งกิ่งที่มีช่อดอก กิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียว และกิ่งแขนงเล็กๆ ซึ่งกิ่งแขนงเล็กพวกนี้ให้ตัดออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะกิ่งที่มีช่อดอก และกิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียวที่เป็นกิ่งขนาดใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ใบที่อยู่โคนๆ กิ่งก็ให้ตัดออกด้วย เพื่อให้โปร่งไม่ทึบเกินไป เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้ว และเห็นว่ากิ่งยาวพอสมควรจัดกิ่งให้อยู่บนค้างอย่างเป็นระเบียบ กระจายตามค้างและไม่ทับซ้อนกันหรือก่ายกันไปมา เพราะกิ่งที่แตกออกมาใหม่จะแตกออกทุกทิศทุกทางเกะกะไปหมด วิธีจัดกิ่งคือ โน้มกิ่งให้มาพาดอยู่บนลวดแล้วอาจผูกด้วยเชือกกล้วย หรือใบกล้วยแห้งฉีกเป็นริ้วๆ ไม่ให้กิ่งที่ชี้ขึ้นไปด้านบนหรือห้อยย้อยลงด้านล่าง เพราะจะไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน เวลาจัดกิ่งต้องระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนดอก เพราะจะฉีกขาดเสียหายได้ง่าย พยายามจัดให้ช่อดอกห้อยลงใต้ค้างเสมอเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานต่างๆ ในสวน
6.2 การตัดแต่งข่อดอก หลังจากจัดกิ่งเรียบร้อยแล้ว ช่อดอกจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งต้นองุ่นออกดอกมากเกินไป ถ้าปล่อยไว้ทั้งหมดจะทำให้ต้นโทรมเร็ว คุณภาพของผลของผลไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้นถ้าเห็นว่า มีช่อดอกมากเกินไปให้ตัดออกบ้าง การตัดแต่งช่ออาจทำตั้งแต่กำลังเป็นดอกอยู่ก็ได้ แต่ไม่ค่อยนิยมเพราะไม่แน่ว่าช่อที่เหลือจะติดผลดีหรือไม่ จึงแนะนำให้ตัดแต่งช่อที่ติดเป็นผลเล็กๆ แล้ว โดยเลือกช่อที่เห็นว่ามีขนาดเล็กรูปทรงไม่สวย ติดผลไม่สม่ำเสมอ มีแมลงทำลายและเหลือช่อที่มีรูปทรงสวยไว้ให้กระจายอยู่ทั่วทุกกิ่งอย่างสม่ำเสมอ
6.3 การตัดแต่งผล องุ่นที่ปลูกกันอยู่ปัจจุบันในบ้านเรามักติดผลแน่นมาก ถ้าไม่ตัดแต่งผลในช่อจะแน่นเกินไป ทำให้ผลที่ได้มีขนาดเล็ก คุณภาพไม่ดี หรือเบียดเสียดกันจนผลบิดเบี้ยวทำให้ดูไม่สวยงาม จำเป็นต้องตัดแต่งผลใสช่อออกบ้างให้เหลือพอดี ไม่แน่นเกินไปหรือโปร่งเกินไป การตัดแต่งผลออกจากช่อมักทำ 1-2 ครั้ง เมื่อผลโตพอสมควร ผลองุ่นอ่อนที่ตัดออกมาไปดองไว้ขายได้ วิธีการให้ใช้กรรไกรขนาดเล็กสอดเข้าไปตัดที่ขั้วผล อย่าใช้มือเด็ดหรือดึง เพราะจะทำให้ช่อผลช้ำเสียหาย ฉีกขาด และมีส่วนของเนื้อผลติดอยู่ที่ขั้วทำให้โรคเข้าทำลายได้ง่าย
ข้อควรระวัง เมื่อองุ่นติดผลแล้ว ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในส่วนต้องสวมหมวกหรือโพกศีรษะเสมอ อย่าให้เส้นผมไปโดนผลองุ่นจะทำให้ผลองุ่นเน่าเสียได้
6.4 การใช้สารฮอร์โมน สารฮอร์โมนที่ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น ทำให้ช่อโปร่ง ผลไม่เบียดกันมาก ประหยัดแรงงานในการตัดแต่งผล นอกจากนี้ยังช่วยให้ผลยาว ผลโตขึ้นสวยงาม รสชาติดี สีสวย หวาน กรอบ ผลองุ่นที่ชุบด้วยฮอร์โมนจึงขายได้ราคาดี
สำหรับพันธุ์องุ่นที่นิยมใช้สารฮอร์โมนคือ พันธุ์ไวท์มะละกา เพราะติดผลดกมาก จนต้องตัดแต่งผลทิ้งเป็นจำนวนมาก การใช้สารฮอร์โมนจึงช่วยให้ช่อผลยืดยาวขึ้นไม่ต้องตัดแต่งมากและช่วยในผลขยายใหญ่ยาวขึ้นดูสวยงาม ส่วนพันธุ์คาร์ดินัลไม่ค่อยนิยมใช้เพราะองุ่นพันธุ์นี้ติดผลไม่ค่อยดก ผลไม่เบียดกันแน่น ถ้าใช้ฮอร์โมนจะทำให้ช่อองุ่นดูโหรงเหรงไม่น่าดู ปกติผลองุ่นพันธุ์นี้โตอยู่แล้วและเป็นผลทรงกลม
ส่วนฮอร์โมนที่ใช้ในการยืดช่อผล ขยายขนาดของผลคือ สาร " จิบเบอร์เรลลิน" ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาด (ชื่อทางการค้าต่างๆ กัน) อัตราที่ใช้ได้ผลคือ 20 พีพีเอ็ม (คือตัวยา 20 ส่วน ในน้ำ 1 ล้านส่วน) นิยมใช้ 1-2 ครั้งคือ ครั้งแรกหลังจากดอกบาน 7 วัน (ดอกบาน 80 เปอร์เซนต์ของทั้งช่อ) ส่วนครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกประมาณ 7 วัน
วิธีใช้ ารใช้สารฮอร์โมนนี้อาจใช้วิธีฉีดพ่นไปที่ช่อดอกช่อผลให้ทั่วทุกต้นทั้งแปลง ซึ่งแม้จะโดนใบก็ไม่มีผลต่อใบแต่อย่างใด วิธีนี้จะสิ้นเปลืองน้ำยามาก และฮอร์โมนถูกช่อองุ่นไม่ทั่วทั้งช่อแต่ประหยัดเวลาและแรงงานได้มากกว่า ส่วนอีกวิธีคือ ชุบช่อดอก ช่อผล ซึ่งประหยัดน้ำยาได้มากกว่า วิธีการทำง่าย แต่เสียแรงงานมากกว่าอุปกรณ์ง่ายๆ สำหรับการชุบฮอร์โมนคือ หาถุงพลาสติกขนาดโตพอที่จะสวมช่อองุ่นได้มา 2 ใบ ใบแรกใส่น้ำธรรมดาลงไปประมาณ 1 ใน 3 ของถุง ใบที่ 2 ใส่สารฮอร์โมนที่ผสมเตรียมไว้ลงไปประมาณครึ่งถุงเอาถุงใบที่มีฮอร์โมนสวมลงไปในถุงใบที่มีน้ำ จักปากถุงให้เสมอกันแล้วพับตลบปากถุงออกด้านนอก 2-3 พับ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในถุงไหลออกมาได้ เมื่อจะชุบช่อองุ่นให้วางถุงบนฝ่ามือ เปิดปากถุงให้กว้างแล้วสวมเข้าไปที่ช่อองุ่น บีบฝ่ามือน้ำยาก็จะทะลักขึ้นมาด้านบนทำให้เปียกทั้งช่อ แล้วเปลี่ยนไปชุบช่อต่อๆ ไป เวลาที่ใช้ในการชุบช่อแต่ละช่อเพียงอึดใจเดียว คือ เมื่อบีบถุงน้ำยาทะลักขึ้นไปโดนช่อแล้วก็คลายมือที่บีบแล้วนำถุงน้ำยาออกทันที ฉะนั้นคนที่ชำนาญจะทำได้รวดเร็วมากเมื่อชุบช่อไปได้สักพักน้ำยาในถุงจะพร่องลง ก็เติมลงไปใหม่ให้ได้ระดับเดิม คือ ประมาณครึ่งถุงตลอดเวลา การบีบต้องระวังอย่าให้แรงมากเพราะน้ำยาจะทะลักล้นออกนอกถุงเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
ข้อควรระวัง การใช้ฮอร์โมนชุบช่อนี้เป็นโอกาสที่จะทำให้โรคต่างๆ ระบาดจากช่อหนึ่งไปยังอีกช่อหนึ่งได้ง่าย ถ้าเป็นช่วงที่โรคกำลังระบาดอยู่ ควรเติมยากันราลงไปในฮอร์โมนนั้นด้วย และการใช้ฮอร์โมนต้องระวังเกี่ยวกับการเตรียมสารให้ได้ความเข้มข้นที่กำหนด การผิดพลาดเพียงเล็กน้อยจะทำให้ผลองุ่นร่วงง่าย ขั้วผลเปราะนั่นเอง การเก็บเกี่ยวและการขนส่งจึงต้องระมัดระวังมาก แต่สามารถแก้ไจได้โดยการใช้สาร 4-CPA (4-Chlorophenoxy acetic

ดินที่เหมาะกับการปลูกองุ่น

สภาพดิน น้ำ อากาศ ที่เหมาะสมต่อการปลูกองุ่น
ดินที่ใช้ในการปลูกองุ่น
การปลูกองุ่นให้ได้ผลดี ต้องพิจารณาพื้นที่ที่จะปลูก ดังนี้
  • ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี
  • มีอากาศที่เหมาะสม
  • เป็นพื้นที่ปราศจากโรคและแมลงรบกวนหรือมีน้อย
ลักษณะของดิน
       แม้ว่าองุ่นจะขึ้นได้ในพื้นที่ดินเกือบทุกชนิดก็ตาม แต่สำหรับเมืองไทยเห็นว่าจำเป็นต้องเลือกดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดีรวมทั้งดินมีความโปร่งชุ่มชื้น ซึ่งรากจะไชชอนหาอาหารได้ดีหากดินที่ปลูกขาดธาตุอาหารชนิดใดควรเสริมให้สมบูรณ์ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจดิน (Soil Surveys) ก่อนทำการปลูกองุ่น อย่าพึ่งลงมือปลูกหรือลงทุน เพราะต้องศึกษาเรื่องดินเสียก่อน เพื่อให้รู้ว่า
  • เป็นดินชนิดไหน
  • เป็นดินอะไร และมีลักษณะอย่างไร
  • ที่ไหน
  • เหมาะสมหรือไม่
       ดินชนิดไหนที่องุ่นชอบและเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน หรือถ้าเกิดว่าดินที่มีอยู่แล้วนั้นยังไม่เหมาะสมเราจะปรับปรุงได้อย่างไร แต่ถ้าท่านใดปลูกองุ่นเพื่อความสวยงาม หรือเพื่อที่จะแปรสภาพให้เป็นอย่างอื่นเรื่องดินก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาหรือเป็นกังวลมากเกินเหตุนะคะ และวันแรกที่ได้เข้าห้องเรียน และเป็นวิชาที่จะต้องศึกษาเรื่องดิน ท่านอาจารย์ก็สั่งว่า อาทิตย์หน้าให้นักศึกษาทุกท่านไปขุดดิน ในที่ของตัวเองที่จะทำเป็นแปลงเป็นสาธิตมา และให้ทุกท่านขุดดินให้ลึกเท่าที่จะขุดได้ และให้เช็คทุกอย่างว่ามีอะไรบ้างที่ปะปนอยู่กับดิน ดินสีอะไร (ทั้งออกแรงทั้งเสียเงิน) ถ้าจะให้ดีเราควรขุดดินให้ลึกมากกว่าหนึ่งเมตร จากนั้นทำการตรวจเช็คสภาพดิน และหินอย่างละเอียดเพื่อดูว่า รากขององุ่นจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีมากน้อยเพียงใด
       องุ่นเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตในสภาพดินที่ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ องุ่นสามารถปลูกได้ทั้งในสภาพดินที่เป็นดินทราย ดินร่วน ดิน เหนียว พื้นที่ลุ่มทางภาคกลางส่วนมากเป็นดินเหนียว และนิยมปลูกองุ่นแบบยกร่อง เช่นที่ราชบุรี เพราะถ้าองุ่นมีน้ำขังจะทำให้รากเน่าและต้นองุ่นตายได้
       ความเป็นกรด ด่าง ( pH ) ต้นองุ่นจะเจริญเติบโตในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-6.8 (Winker et al., 1974 อ้างถึงในกิตติพงศ์ , 2547 ) ในต่างประเทศ 4-9 Ref, เนื่องด้วยดินเป็นกรดมากจะไปทำลายระบบราก และการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุอาหารขององุ่น และถ้าดินที่ปลูกองุ่นมีความเป็นด่างมากเกินไปจะทำให้ธาตุอาหารหลักหรือธาตุอาหารที่จำเป็น และธาตุอาหารรองเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตขององุ่นอยู่ในรูปที่นำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยลง ดังนั้นชาวสวนจึงต้องมีการปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสม และการปรับสภาพดินก็อาจทำได้หลายวิธี เช่น
  • การใส่ปูนขาวเพื่อปรับค่าความเป็นกรด ด่างของดิน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมใส่ปูนขาว แต่เกษตรกรควรนำดินไปตรวจกับนักวิชาการด้านปฐพีวิทยาเพื่อหาค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ว่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งก็จำเป็นในการคำนวณปูนขาว เพื่อความถูกต้องและลดต้นทุนในแรงงานใส่ปูนขาวและเงินทุน
  • การใช้วัสดุปรับปรุงดิน จากไร่องุ่นพรมชนจะควบคุมความเป็นกรดเป็นด่างโดยการใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกร่วมกัน รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยพืชสด แกลบ และวัสดุคุมดิน อยู่เสมอ
  • การใช้สารเคมี ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรเป็นจำนวนมากและได้ผลิตสารเคมีที่ใช้ในการปรับสภาพดิน ซึ่งสารเคมีต่าง ๆ ก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป ก่อนที่เกษตรกรจะเลือกใช้ ควรศึกษาคุณสมบัติของสารให้ดี
การจัดการดิน (Soil Management)
ควรรู้จักวิธีการดูแลรักษาดิน แล้วดินก็จะช่วยให้องุ่นเราได้ทำหน้าอย่างเต็มที่ค่ะ และการดูแลรักษาดินก็เช่น
  • ควรใส่ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด เพื่อดูแลสิ่งมีชีวิตในดิน
  • ไม่ควรไถดินให้ลึกหรือใกล้รากองุ่นจนเกินไป เพราะอาจจะทำลายรากขององุ่น
  • เช็คค่า pH ของดินกับผู้มีความรู้เกี่ยวข้องกับดิน (4-9)Ref.
  • การเลือกปลูกพืชคุมดิน
สำหรับไร่องุ่นพรมชนนั้น ก่อนซื้อที่ดิน ผู้ปลูกได้สำรวจพื้นที่ทั้งหมด พอเห็นดินแล้วก็มีความมั่นใจทันทีว่าจะต้องปลูกองุ่นได้และนี่ก็คือปัจจัยแรก แต่อย่าลืมไปอ่านหรือศึกษาเรื่องดินจากหลาย ๆแหล่งหรือปรึกษาผู้ที่มีความรู้เรื่องดินก่อน และที่แน่ ๆ องุ่นหรือพืชเกือบทุกชนิดไม่ชอบน้ำขัง
สภาพอากาศที่องุ่นต้องการ
       อากาศ หรือภูมิอากาศ และภูมิประเทศ หรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม ดิฉันคิดว่าผู้ที่เขียนเรื่ององุ่นหลายท่าน หรือที่ปรึกษาของท่านคงได้บอกไปแล้ว แต่ดิฉันก็อยากจะบอกหรืออยากระบายความในใจบางอย่างให้ท่านทราบอีก คงไม่ว่ากันนะ(ไม่ได้สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำนะคะ) แต่ที่แน่ ๆ ถ้าที่ไหนมีอากาศหรือสภาพแวดล้อมที่ดี สุขภาพของต้นไม้ก็น่าจะดีด้วย เหมือนกับหลายท่านที่ชอบไปกินบรรยากาศนอกสถานที่
  • ไม่อยู่ในที่แออัดควรมีลมพัดผ่านได้ดี
  • ไม่ควรปลูกใกล้ต้นไม้ใหญ่
  • ไม่ควรเลือกปลูกองุ่นในที่ลุ่มๆเพราะในฤดูฝนก็จะมีปัญหามากมายตามมา
  • สภาพอากาศหรืออุณหภูมิที่เหมาะสม มีหนาวบ้างก็จะดีค่ะ
  • ไม่จำเป็นต้องเลือกเขตที่มีความแห้งแล้งจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำค่ะ จะเห็นได้ว่าองุ่นขาดน้ำก็ไม่ได้ น้ำมากไปก็ไม่ดีนะคะ
  • แสงแดดเพียงพอ
น้ำกับองุ่น
1. การดูดน้ำทางระบบราก
       องุ่นที่ทนสภาพแห้แล้งได้เพราะมีระบบรากที่ลึก ถึงแม้ว่ารากส่วนใหญ่จะพบอยู่ประมาณ 40 ซม. จากผิวดิน แต่จะหนาแน่นกว่าพืชอื่นๆ(ในพืชอื่นการดูดน้ำส่วนใหญ่จะอยู่บนดินชั้นบน ประมาณ 40 % และ 10 % ในดินชั้นล่าง) ผิดกับองุ่นที่ยิ่งมีรากมากยิ่งดูดน้ำได้มาก ไม่ขึ้นกับความลึกของราก
ในดินร่วนและดินทรายรากองุ่นสามารถลงไปได้ลึกถึง 6 เมตร ส่วนของรากที่ดูดน้ำได้ดีอยู่ตรงบริเวณขนรากที่อยู่ถัดจากปลายรากฝอยเข้ามาและดูดได้น้อยลงในบริเวณที่แก่ขึ้นไปจนถึงโคนรากที่มีเปลือกหุ้ม ปลายรากฝอยที่ active นี้จะงอกเข้าหาดินที่มีความชื้นถึงแม้จะลึกถึง 6 เมตรก็ตาม แต่ก็เป็นแค่ความสามารถในการทนแล้งขององุ่นเท่านั้น การจะให้น้ำให้มีประสิทธิภาพก็คือให้ไปที่รากฝอยที่ส่วนใหญ่อยู่ไม่เกิน 40 ซม. จากผิวดิน ดังนั้น ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด จำเป็นต้องให้น้ำให้ส่วนดินบนที่มีรากฝอยส่วนใหญ่ ( 49 ซม. จากผิวดิน) ให้มีความชื้นที่เพียงพอ  
2. พื้นที่ผิวใบ
       ในตอนต้นฤดูหลังตัดแต่งยอดและใบแตกออกมายังเล็กอยู่ พิ้นที่ผิวของใบยังมีน้อยการระเหยน้ำ( transpiration) ก็น้อย แต่พอยอดยาวขึ้นใบใหญ่ขึ้นจำนวนใบมากขึ้นพื้นที่ใบมากขึ้นก็ระเหยน้ำมากขึ้น ในสภาพอากาศที่ร้อน ลมแรง ต้นองุ่นจะระเหยน้ำทางใบมากกว่าความสามารถที่รากจะดูดได้ทัน ใบอ่อนจะแสดงอาการขาดน้ำ ในสภาพที่ขาดน้ำลักษณะนี้ ต้นจะพยายามดึงน้ำจากส่วนอื่นๆของต้น เช่น จากราก ลำต้น กิ่ง ลูก เพี่อไปชดเชยที่ใบระเหยไป ส่งผลให้ขนาดของลูกเล็กลง ดังนั้นต้องคำนึงถึงสัดส่วนระหว่าง ราก: ใบ ให้ดี จำเป็นต้องมีการหยุดยอดเมื่อองุ่นมีใบมากพอที่จะเลี้ยงลูกได้(ปกติในบ้านเราประมาณ 17-22 ใบ ถ้าแต่ละปล้องยาวประมาณ 7 ซม. จะได้ยอดยาวประมาณ 1- 1.5 ซม. ) เพื่อควบคุมไม่ให้ สัดส่วน ราก: ใบ น้อยเกินไป และยังช่วยคุมทรงพุ่มไม่ให้มีกิ่งหรือใบที่ซ้อนทับบังแสงกัน ยิ่งทรงพุ่มยิ่งใหญ่ ก็ยิ่งมีพื้นที่ผิวใบมาก การระเหยน้ำก็ยิ่งมากตามมาด้วย ดังนั้นต้นองุ่นยิ่งใหญ่ยิ่งต้องการน้ำมาก และบริเวณที่ได้รับน้ำต้องมากตามทรงพุ่มที่แผ่กว้างออกไปด้วย
3. ความต้องการน้ำตลอดฤดู     
พยายามรักษาความชื้นในดินบริเวณเขตรากไว้ให้สม่ำเสมอตลอดฤดู แต่อย่าให้ถึงกับแฉะ อาการขาดน้ำกับอาการ รากเสียเพราะแฉะนั้นเหมือนกันคือยอดหยุดเขียวเข้มขึ้น ส่วนใบแก่ก็เขียวเข้มขึ้นเช่นกัน
ความชื้นและอากาศ
       องุ่นเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่อุณหภูมิค่อนข้างสูง แสงแดดจัด ความชื้นในอากาศต่ำ ระดับน้ำฝนไม่ควรเกิน 40 นิ้ว และไม่น้อยกว่า 15 นิ้วต่อปี นอกจากนี้ ควรมีระบบชลประทานเข้าช่วย เพราะในบางระยะองุ่นมีความต้องการน้ำมาก เช่น ในระยะเริ่มติดผลปราศจากโรคและแมลงดินฟ้าอากาศมีส่วนทำให้แมลงเจริญเติบโตได้ง่ายการเลือกพื้นที่ ที่จะปลอดภัยจากโรคและแมลงอาจทำได้ยากอย่างไรก็ตาม ต้องสังเกตพื้นที่รอบ ๆ ที่จะปลูกองุ่น เช่น ไม่รกรุงรัง  ชาวไร่ข้างเคียงสนใจต่อการป้องกันโรคและแมลงหรือไม่   ทั้งนี้ในปัจจุบันความก้าวหน้าในการป้องกันโรคและแมลงมีความก้าวหน้ามาก สามารถที่จะต่อสู้ได้ แต่ก็ไม่ควรต้องลงทุนสูง

การดูเเลองุ่น

การดูแลบำรุงรักษาหลังการปลูก
การปลูกองุ่นก็เช่นเดียวกันกับการปลูกพืชอื่น ๆ แต่การบำรุงรักษาองุ่นนั้นค่อนข้างจะมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ ในการบำรุงรักษาองุ่นที่ปลูกนั้น มีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
1. การให้ปุ๋ย ตามปกติพืชทั่ว ๆ ไปจะต้องการ อาหารแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม ดังนั้น เมื่อผู้ปลูกสังเกตเห็นว่าองุ่นที่ปลูกแสดงอาการผิดปกติ ก็ต้องแก้ไขโดยการเพิ่มอาหาร แร่ธาตุต่าง ๆ ตามที่ปรากฏ เช่น เมื่อขาดธาตุไนโตรเจน ลักษณะของลำต้นจะแคระแกร็น ใบและลำต้นจะสีเหลืองซีด การเจริญเติบโตช้า แต่ถ้ามากเกินไปใบจะสีเขียวจัด ก้านเปราะ ผลสุกช้า หากขาดธาตุฟอสฟอรัส รากจะไม่เจริญเติบโต แคระแกร็น ใบสีเขียวเข้ม ผลแก่ช้ากว่าปกติ และหากขาดธาตุโปแตสเซียม จะเจริญเติบโตช้า เส้นใบและขอบใบมีสีเหลือง ริมใบมีสีน้ำตาล ปล้องจะถี่หรือระหว่างข้อสั้น เมื่อองุ่นที่ปลูกปรากฏอาการดังกล่าว จะต้องแก้ไขโดยการเพิ่มอาหารที่ขาดไป ไม่จำเป็นต้องใช้ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ควรใช้ปุ๋ยจำพวกอินทรียวัตถุใส่เป็นประจำ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เป็นต้น
ขณะเดียวกันควรหมั่นพรวนดินระหว่างแถวด้วยจอบ หรือเครื่อง ทุ่นแรง นอกจากจะปราบวัชพืชแล้ว ยังเพิ่มปุ๋ยพืชสดให้กับดินอีกด้วยและเป็นการลดการระเหยของน้ำในดิน
2. การให้น้ำ แม้ว่าองุ่นจะไม่ชอบดินแฉะแต่ก็ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำ น้ำไปปรุงแต่งผลให้เต่ง โดยเฉพาะในระยะแรกเริ่มปลูกและเริ่มติดผลอย่าให้ขาดน้ำ การปลูกองุ่นเป็นจำนวนมากจำเป็นต้องเตรียมน้ำไว้ให้พร้อม อาจจะขุดเป็นร่องเพื่อกักขังน้ำไว้ เมื่อองุ่นมีผลแก่เริ่มแก่จะสุก ควรงดการให้น้ำหรือให้บ้างเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ควรหาวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางข้าวคลุม โคนต้น จะเป็นการช่วยลดการระเหยของน้ำในดิน ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น
3. ลม ผู้ปลูกองุ่นส่วนมากมักจะไม่ค่อยคำนึงถึงเรื่องลมมากนัก แต่ถ้าผู้ปลูกในที่โล่งเตียนมีลมจัด จะมีผลกระทบต่อการปลูกองุ่นเหมือนกัน กล่าวคือ หากมีลมแรง ต้นองุ่นจะโยกคลอนไปตามลม ใบจะขาด ลมจะพัดพาเกสรของดอกปลิวไปที่อื่น ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ หรือตัวแมลงที่ช่วย ผสมเกสรจะเกาะเกสรไม่ได้ ทำให้เกิดผลน้อย ทางที่ดีควรปลูกต้นไม้อื่นบังลมไว้บ้าง เพราะนอกจากจะบังลมแล้วยังช่วยลดการระเหยของน้ำในดินและอากาศจะมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ
 
การปลักชำองุ่น
การปลักชำองุ่น


[Image] 
 การขยายพันธุ์องุ่นด้วยการตัดกิ่งปักชำ           องุ่นเป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายรวดเร็วส่วนมากชาวไร่องุ่นจะซื้อพันธุ์จากสถานที่จำหน่ายพันธุ์มาปลูกเพราะเป็นการสะดวกแต่ถ้าหากว่าผู้ปลูกทำการขยายพันธุ์เองจะเป็นการประหยัดและมีความมั่นใจพันธุ์ที่นำมาปลูกอย่างไรก็ตาม ผู้ปลูกองุ่นควรมีความรู้ ความชำนาญสามารถขยายพันธุ์ได้เองจะเป็นการลดต้นทุน  
ขั้นตอน
การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ จะได้พันธุ์ตรงตามพันธุ์เดิม โดยตัดจากกิ่งองุ่นที่แก่ มีอายุไม่เกิน 1 ปีควรใช้กิ่งขนาดกลาง มีข้อถี่ ตัดยาวประมาณ 7 - 8 นิ้ว เลือกกิ่งที่มีตาบริสุทธิ์ไม่บอดไม่เสียการปักชำ จะปักลงในกระบะทรายหรือในแปลงปักชำก็ได้ โดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายและปุ๋ยคอก ราดด้วยยาฆ่าเชื้อรา เช่น ยาบอร์โดมิกซ์เจอร์ แล้วนำกิ่งที่เตรียมไว้มาปักชำควรปักลงไปในดินไม่น้อยกว่า 2 ข้อ มีตาเหลือพ้นดิน 2 - 3 ตา ควรปักให้เอนไปทางทิศตะวันตกหันตาไปทางทิศตะวันออก กดดินที่โคนกิ่งให้แน่น อย่าให้ถูกแสงแดดมาก รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ ประมาณ 15 - 20 วัน ก็จะแตกใบอ่อน เมื่อแตกกิ่งและมีใบแข็งแรง ให้แยกไปชำในถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสมปุ๋ยคอก และขี้เถ้าแกลบเพื่อให้เติบโตจึงนำไปปลูกต่อไปหรือจะนำไปชำในแปลงชำ จนกระทั่งสามารถนำไปปลูกในไร่ได้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 - 8 เดือน อย่าชำไว้นานเพราะเมื่อย้ายไปปลูกจะทำให้ต้นแคระแกรน ลำบากต่อการย้ายไปปลูกซึ่งการย้ายกิ่งปักชำไปปลูกในไร่ให้ตัดเถาเหลือ 2 - 3 ตา พ่นยาป้องกันโรคก็สามารถปลูกในไร่ต่อไปได้

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การขยายพันธ์องุ่น

การขยายพันธุ์องุ่น
     องุ่นเป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายรวดเร็วส่วนมากชาวไร่องุ่นจะซื้อพันธุ์
จากสถานที่จำหน่ายพันธุ์มาปลูกเพราะเป็นการสะดวกแต่ถ้าหากว่าผู้ปลูกทำ
การขยายพันธุ์เองจะเป็นการประหยัดและมีความมั่นใจพันธุ์ที่นำมาปลูก
อย่างไรก็ตาม ผู้ปลูกองุ่นควรมีความรู้ ความชำนาญสามารถขยายพันธุ์
ได้เองจะเป็นการลดต้นทุน ซึ่งการขยายพันธุ์องุ่นสามารถทำได้ถึง 6 วิธี
1. การเพาะเมล็ด
2. การตัดกิ่งปักชำ
3. การติดตา
4. การทับกิ่ง
5. การตอน
6. การต่อเสียบ

การเพาะเมล็ดพันธ์องุ่น


http://www.sut.ac.th/annualreport/sut10th/images/046.jpg 

 การขยายพันธุ์องุ่นด้วยการเพาะเมล็ด 
         นเป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายรวดเร็วส่วนมากชาวไร่องุ่นจะซื้อพันธุ์จากสถานที่จำหน่ายพันธุ์มาปลูกเพราะเป็นการสะดวกแต่ถ้าหากว่าผู้ปลูกทำการขยายพันธุ์เองจะเป็นการประหยัดและมีความมั่นใจพันธุ์ที่นำมาปลูกอย่างไรก็ตาม ผู้ปลูกองุ่นควรมีความรู้ ความชำนาญสามารถขยายพันธุ์ได้เองจะเป็นการลดต้นทุน  

ขั้นตอน
การขายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก เพราะพันธุ์ที่ได้จะออกดอกออกผลช้า ไม่ตรงตามพันธุ์ บางพันธุ์มีเมล็ดเว้นแต่จะทำการผสมพันธุ์แล้วเพาะเมล็ดเพื่อได้พันธุ์ที่ดีกว่าเดิม วิธีการเพาะเมล็ดทำได้โดยการเก็บเมล็ดจากผลองุ่นที่สุกแก่เต็มที่แล้ว นำไปเก็บไว้ในทรายชื้นหรือในตู้เย็นสัก2 - 3 เดือน เพื่อให้มีการพักตัว หลังจากนั้นนำไปเพาะในกระบะหรือใน
แปลงเพาะโดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายหยาบและปุ๋ยคอกลงไปด้วยหว่านเมล็ดองุ่นลงในกระบะเพาะหรือในแปลงเพาะใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมไว้เพื่อรักษาความชื้น รดน้ำให้ชุ่มชื้นทุกวันประมาณ 20 - 30 วัน จะเริ่มงอกแตกเป็นต้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตรแยกนำไปชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงชำ เมื่อลำต้นแข็งแรงสามารถนำไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้

 การขยายพันธุ์องุ่นด้วยการเพาะเมล็ด 
         นเป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายรวดเร็วส่วนมากชาวไร่องุ่นจะซื้อพันธุ์จากสถานที่จำหน่ายพันธุ์มาปลูกเพราะเป็นการสะดวกแต่ถ้าหากว่าผู้ปลูกทำการขยายพันธุ์เองจะเป็นการประหยัดและมีความมั่นใจพันธุ์ที่นำมาปลูกอย่างไรก็ตาม ผู้ปลูกองุ่นควรมีความรู้ ความชำนาญสามารถขยายพันธุ์ได้เองจะเป็นการลดต้นทุน  

ขั้นตอน
การขายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก เพราะพันธุ์ที่ได้จะออกดอกออกผลช้า ไม่ตรงตามพันธุ์ บางพันธุ์มีเมล็ดเว้นแต่จะทำการผสมพันธุ์แล้วเพาะเมล็ดเพื่อได้พันธุ์ที่ดีกว่าเดิม วิธีการเพาะเมล็ดทำได้โดยการเก็บเมล็ดจากผลองุ่นที่สุกแก่เต็มที่แล้ว นำไปเก็บไว้ในทรายชื้นหรือในตู้เย็นสัก2 - 3 เดือน เพื่อให้มีการพักตัว หลังจากนั้นนำไปเพาะในกระบะหรือใน
แปลงเพาะโดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายหยาบและปุ๋ยคอกลงไปด้วยหว่านเมล็ดองุ่นลงในกระบะเพาะหรือในแปลงเพาะใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมไว้เพื่อรักษาความชื้น รดน้ำให้ชุ่มชื้นทุกวันประมาณ 20 - 30 วัน จะเริ่มงอกแตกเป็นต้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตรแยกนำไปชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงชำ เมื่อลำต้นแข็งแรงสามารถ
1. การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
    การขายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก เพราะพันธุ์ที่ได้จะออกดอก
ออกผลช้า ไม่ตรงตามพันธุ์ บางพันธุ์มีเมล็ดเว้นแต่จะทำการผสมพันธุ์แล้วเพาะเมล็ดเพื่อได้พันธุ์ที่ดีกว่าเดิม วิธีการเพาะเมล็ดทำได้โดยการเก็บเมล็ดจากผลองุ่นที่สุกแก่เต็มที่แล้ว นำไปเก็บไว้ในทรายชื้นหรือในตู้เย็นสัก 2 - 3 เดือน เพื่อให้มีการพักตัว หลังจากนั้นนำไปเพาะในกระบะหรือใน แปลงเพาะโดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายหยาบและปุ๋ยคอกลงไปด้วย หว่านเมล็ดองุ่นลงในกระบะเพาะหรือในแปลงเพาะใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมไว้เพื่อรักษาความชื้น รดน้ำให้ชุ่มชื้นทุกวันประมาณ 20 - 30 วัน จะเริ่มงอกแตกเป็นต้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตรแยกนำไปชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงชำ เมื่อลำต้นแข็งแรงสามารถนำไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เรื่องการปลูก องุ่น

การปลูกองุ่นเพื่อความเพลิดเพลิน ก่อนอื่นต้องขอให้ลืมตำราไปก่อนเลย เรามาเริ่มจาก ศูนย์ กันเลย
ขั้นแรก      หากิ่งพันธุ์องุ่น เลือกปลูกพันธุ์ที่ทนต่อสภาพอากาศร้อน และทนต่อโรคได้ดี ( ถามคนขาย )
ขั้นต่อไป     หาทำเลปลูก องุ่นต้องการแสงแดดจัด พื้นที่ทำซุ้มองุ่นควรมีแสงแดดส่องอย่างน้อยครึ่งวัน ปลูกในที่ร่มไม่ได้
ขั้นต่อไป   เตรียมพื้นที่ปลูก   ( หลุมปลูก หรือเตรียมกระถางปลูก )
ขั้นต่อไป     ปลูกต้นกล้าให้รอด ให้เลื้อยขึ้นซุ้มได้ก่อน ( ยังไม่ต้องรีบทำซุ้ม ระยะนี้มีเวลาให้คิดเรื่องทำซุ้มถึง 3 เดือน )
ขั้นต่อไป    ทำยังไงให้ติดผล  ( รับรองว่าติดผลแน่ๆ แต่ตอนนี้ยังไม่ต้องคิด มีเวลาให้คิดเรื่องนี้ถึง 1 ปีหลังจากปลูก )
ขึ้นต่อไป    ทำยังไงให้หวาน   ( รอให้ติดผลรุ่นแรกผ่านไปก่อน ถึงแม้จะเปรี้ยวจี๊ดก็ไม่เป็นไร แค่ออกดอกติดผลก็เท่ห์แล้ว หลังจากนั้นค่อยคิดเรื่องหวาน )
ขึ้นต่อไป    ถ้าผ่านมาถึงตอนนี้ก็ต้องเก่งแล้ว พอเก่งแล้วก็อยากได้พันธุ์โน้น พันธุ์นี้
ถึงตอนนี้ก็ลองมาทำอะไรเล่นกันสนุกๆ ทำองุ่นหลายสายพันธุ์บนต้นตอเดียว
คราวนี้อยากจะได้พันธุ์อะไร สารพัดพันธุ์ที่ต้องการ หามาเลย
องุ่นหนึ่งต้นสมมุติว่ามี 5 กิ่งหลัก อยากได้พันธุ์ไหนก็ติดตาพันธุ์นั้นเข้าไปเลย
องุ่นต้นเดียวมีทั้งองุ่นเขียว องุ่นแดง องุ่นผลเรียว องุ่นผลกลม คราวนี้ก็มาดูผลงาน รู้เลยว่าพันธุ์ไหนดีแน่ เพราะว่า ต้นตอเดียวกัน ได้รับปุ๋ยเหมือนกัน ใครจะหวาน ใครจะเปรี้ยว ใครผลโต ใครผลเล็ก ใครติดผลตก
ขั้นที่ 1       หากิ่งพันธุ์องุ่น เลือกสายพันธุ์ที่ทนทาน ทั้งต่ออากาศร้อนและโรคต่างๆ  หากไม่ได้ปลูกเชิงพาณิชย์ ปลูกเพียงต้นสองต้นไม่จำเป็นต้องใช้องุ่นพันธุ์แปลกๆ ที่มีราคาผลิตสูง เช่นองุ่นไร้เมล็ด บางพันธุ์กิโลกรัมละ 300 บาท 700 บาท คิดง่ายๆ ถ้าผลผลิตราคาสูงขนาดนี้แล้วทำไมไม่ปลูกพันธุ์ดีกันให้หมด  ทั้งนี้ก็เพราะข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ปลูก องุ่นพันธุ์ดีมักขึ้นได้ดีบนพื้นที่สูง ถ้าต้องการจะปลูกจริงจังก็ต้องไปหาซื้อที่แถว ภูเรือ ( +600 เมตร ) วังน้ำเขียว ( + 400 เมตร ) หรือที่อื่นๆ ที่อยู่บนระดับสูง  แต่ก็มีไร่องุ่นพันธุ์ดีที่ปลูกบนพื้นที่ราบต่ำอยู่บ้างแต่ก็กว่าจะได้ผลผลิตก็เหนื่อย เพราะต้องดูแลมากเป็นพิเศษ แต่สำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์แล้วก็ถือว่าคุ้มเพราะผลผลิตที่ได้มีราคาสูง แต่ถ้าปลูกเล่นๆ ตามบ้านเรือนก็คงไม่เหมาะ เดี๋ยวเป็นโน่น เดี๋ยวเป็นนี่ งามก็ไม่งาม เอาแต่จะตาย ลูกก็ไม่มี  ปลูกไปปลูกมาก็เบื่อแล้วก็ต้องรื้อทิ้ง แล้วก็สรุปว่าองุ่นปลูกยาก
ปลูกเล่นๆ ควรเลือกพันธุ์ที่ทนสภาพอากาศร้อน และควรมีใบสวยงาม การปลูกตามบ้านเรือนมักจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่จำกัด มีพื้นที่ให้องุ่นเลื้อยน้อย ดังนั้นควรพันธุ์ที่มีข้อสั้น คือมีระยะห่างระหว่างใบน้อย หากเป็นพันธุ์ข้อยาวจะเลื้อยออกนอกค้างเร็วมาก
ขั้นที่ 2      เตรียมพื้นที่ปลูก  จะปลูกลงดิน หรือปลูกในกระถางก็ได้  แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ควรปลูกลงดินเพราะในดินมีแร่ธาตุอาหารมาก ทำให้ง่ายต่อการดูแล ลืมรดน้ำก็ไม่ตาย ไม่ใช่ปุ๋ยก็หาดูดเอาจากในดิน  หากปลูกลงกระถางจะต้องดูแลมาก เมื่อปลูกไปนานๆ ดินในกระถางจะถูกต้นไม้ดูดธาตุต่างๆ ไปหมดทำให้ดินไม่มีธาตุอาหารจึงต้องควรใส่ปุ๋ย หากเราเดินทางไปต่างจังหวัดหลายวันไม่มีใครรดน้ำให้ก็จะเหี่ยว
หากปลูกลงดินควรเตรียมหลุมปลูกโดยขุดดินเดิมออกมาก่อน ขุดให้ได้ขนาดหลุม กว้าง 2 คืบ ลึก 2 คืบ ใส่ปุ๋ยคอกรองที่ก้นหลุม ใส่เยอะๆ เพราะเรามีโอกาสใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมเพียงครั้งเดียวในชีวิตของต้นไม้ จากนั้นนำดินดีผสมกับปุ๋ยคอกเททับลงไป นำต้นกล้าวางลงแล้วกลบด้วยดินดีผสมปุ๋ยคอก รดน้ำให้ชุ่ม ไม่ต้องทำร่มให้ต้นกล้า ช่วงแรกรากยังน้อยดูดน้ำไม่เก่งควรรดน้ำปล่อยๆ ทังเช้าและเย็น